วันจันทร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ของธุรกิจ

 

ให้นักศึกษาอธิบายภาพต่อไปนี้ เทคโนโลยีสารสนเทศกับกลยุทธ์ของธุรกิจ
ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Information System : EIS) ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง คือ MIS ประเภทพิเศษที่ถูกพัฒนาสำหรับผู้บริหารระดับสูง โดยเฉพาะช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงที่ไม่คุ้นเคยกับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้ระบบสารสนเทศได้ง่ายขึ้น โดยใช้เมาส์เลื่อนหรือจอภาพแบบสัมผัส เพื่อเชื่อมโยงข่าวสารระหว่างกันทำให้ผู้บริหารไม่ต้องจำคำสั่ง

ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS)หมายถึง ระบบที่ทำหน้าที่จัดเตรียมสารสนเทศเพื่อช่วยในการตัดสินใจ หากเป็นการใช้โดยผู้บริหารระดับสูง เรียกระบบนี้ว่า "ระบบสนับสนุนการตัดสินใจเพื่อผู้บริหารระดับสูง" (Executive Support System: ESS)บางครั้งสารสนเทศที่ TPS และ MISไม่สามารถช่วยให้ผู้บริหารตัดสินใจได้จำเป็นต้องพัฒนาระบบช่วยตัดสินใจ DSS ขึ้น เพื่อช่วยในการตัดสินใจภายใต้ผลสรุปและการเปรียบเทียบข้อมูลจากแหล่งอื่น ทั้งภายในและนอกองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อช่วยในการตัดสินใจที่ไม่ได้คาดไว้ล่วงหน้า เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรวมบริษัทและการหาบริษัทร่วม การขยายโรงงาน ผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นต้น
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=numpuang&date=11-06-2009&group=8&gblog=3

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS
คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง
ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System)
 เป็นระบบย่อยหนึ่งในระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ โดยที่ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยผู้บริหารในเรื่องการตัดสินใจในเหตุการณ์หรือกิจกรรมทางธุรกิจที่ไม่มีโครงสร้างแน่นอน หรือกึ่งโครงสร้าง ระบบสนับสนุนการตัดสินใจอาจจะใช้กับบุคคลเดียวหรือช่วยสนับสนุนการตัดสินใจเป็นกลุ่ม นอกจากนั้น ยังมีระบบสนับสนุนผู้บริหารเพื่อช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์

ระบบประมวลผลข้อมูล (DP)เป็นการนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในการจัดการข้อมูลขั้นพื้นฐาน โดยเน้นที่การประมวลผลรายงานประจำวัน (Transaction) และการเก็บรักษาข้อมูลมักจะทำงานอยู่เฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดของธุรกิจเท่านั้น เช่น ฝ่ายการเงินและบัญชี ฝ่ายผลิต ฝ่ายการตลาด เป็นต้น โดยแต่ละฝ่ายมีการประมวลผลที่แยกจากกัน ข้อมูลจะถูกป้อนและจัดเก็บอยู่ในรูปของไฟล์และไฟล์ต่างๆ จะถูกแก้ไขระหว่างการประมวลผลรายการประจำวัน จากนั้นผลลัพธ์จะถูกแสดงออกมาตามคาบเวลาที่กำหนด เช่น ใบส่งของ หรือ รายงานประจำเดือน
น.ส. นวลลักษณ์ ศรียาชีพ บ.กจ.3/1

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4

1.ทำอย่างไร ที่องค์กรธุรกิจสามารถที่จะใช่เครือข่ายระหว่างองค์กร ในการจัดเก็บเข้าถึงและแจกจ่ายข้อมูล และสารสนเทศ ไปยังหน่วยงานภายใน และหน่วยงานภายนอกได้
   ตอบ สิ่งที่ขับเคลื่อนคือ อินเทอร์เน็ต เพราะสารสนเทศจำนวนมากข้ามไปบนอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นสื่อประสม ความต้องการฐานข้อมูลของธุรกิจเพื่อเก็บ รับ และจัดการข้อมูลประเภทอื่นๆทั้งเอกสาร วิดิทัศน์ และเสียง
2.อะไรคือบทบาทของการจัดการฐานข้อมูล การบริหารฐานข้อมูล และการวางแผนที่จะใช้ข้อมูลมาเป็นส่วนสำคัญในการทำธุรกิจ
   ตอบ การจัดการทรัพยากรข้อมูล ความพยามหลักในการจัดการทรัพยากรข้อมูลมีความจำเป็นเพื่อชดเชยปัญหาที่มีผลมาจากการใช้แนวทางการจัดการฐานข้อมูล
3.อะไรคือประโยชน์ของแนวคิดในการรวบรวมฐานข้อมูล การเข้าถึง และการจัดการทรัพยากรข้อมูล จงยกตัวอย่างประกอบ
   ตอบ เช่น การลดความซับซ้อนของข้อมูล การรวบรวมข้อมูลให้เป็นหนึ่งเดียว เพื่อการเข้าถึงจากหลายโปรแกรมและหลายผู้ใช้
4.อะไรคือบทบาทของระบบสารสนเทศในการจัดการระบบฐานข้อมูล
   ตอบ ควบคุมวิธีการสร้างฐานข้อมูล การค้นหาร และการบำรุงรักษา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการสำหรับผู้ใช้และองค์กร
5.ฐานข้อมูลสารสนเทศนั้นเป็นส่วนสำคัญอย่างมากในการปฏิบัติการภายในองค์กร ให้พิจารณาว่ายังมีฐานข้อมูลประเภทใดอีกที่มีความสำคัญในธุรกิจปัจจุบัน
   ตอบ การใช้ฐานข้อมูลการตลาด การขาย และการบริหารเป็นต้น
6.อะไรคือข้อดีประโยชน์และอะไรคือข้อจำกัดของตัวแบบความสำพันธ์ของฐานข้อมูลที่ประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจปัจจุบัน
   ตอบ ข้อดี คือ การลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล การบูรณการและความปลอดภัยของข้อมูลที่เก็บอยู่ในฐานข้อมูลเพิ่มขึ้น ข้อจำกัด คือ เกิดการซับซ้อน มีความยุ่งยาก มีค่าใช้จ่ายที่สูง และเวลาที่ใช้ในการประมวลผลที่ยาวขึ้น
7.จงอธิบายถึงฐานข้อมูล คลังข้อมูล และตลาดข้อมูลในความเข้าใจของนักศึกษา
   ตอบ ฐานข้อมูล เป็นการรวบรวมระเบียนในรูปแฟ้มให้เป็นระเบียนส่วนกลางเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการใช้งาน
            คลังข้อมูล คือ การเก็บข้อมูลปัจจุบันและปีก่อนๆ เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจ
            ตลาดข้อมูล คือ การเก็บข้อมูลของหลายๆองค์กร เพื่อปรับปรุงการทำงานของฐานข้อมูลและเพื่อความปลอดภัย
8.ทำไมตัวแบบฐานข้อมูลเชิงวัตถุ จึงได้รับการยอมรับในการนำเอามาพัฒนาและจัดการฐานข้อมูลทางธุรกิจบนเว็บ
   ตอบ ฐานข้อมูลเชิงวัตถุเป็นส่วนประกอบของซอฟต์แวร์ที่สำคัญในการจัดการหน้าสื่อประสมเชื่อมโยงหลายมิติและข้อมูลประเภทอื่นๆที่สนับสนุนเว็บไซท์ขององค์กรและสามารถจัดการเรื่องการเข้าถึงและการจัดเก็บออบเจ็กต์ เช่น เอกสาร ภาพกราฟิก วีดีทัศน์ เสียง และอื่นๆได้โดยง่าย
9.ทำอย่างไรที่จะนำเอาอินเทอร์เน็ต และ World Wide Web มาใช้ในการจัดการทรัพยากรข้อมูลเพื่อประกอบการทำธุรกิจได้
   ตอบ การเข้าถึงสารสนเทศที่มีค่าของฐานข้อมูลภายนอกจากพาณิชย์บริการต่อตรงโดยจ่ายค่าธรรมเนียม หรือจากแหล่งต่างๆบนอินเทอร์เน็ต บน World Wide Web ทั้งมีค่าใช้จ่ายหรือไม่มีค่าใช้จ่ายจากเว็บไซท์จัดเตรียมหน้าเชื่อมโยงหลายมิติของเอกสารสื่อประสมที่ไม่รู้จบเพื่อการเข้าถึงฐานข้อมูลสื่อหลายมิติ
น.ส. นวลลักษณ์ ศรียาชีพ บ.กจ.3/1

แบบฝึกหัด

          แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 8
1.ถ้านักศึกษาเป็นผู้บริหารในองค์กร จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเป็นประโยชน์ในการแข่งขันด้านการตลาดของตนอย่างไร และมีข้อสังเกตอย่างไรกับการทำธุรกิจในปัจจุบัน
ตอบ ใช้กลยุทธ์ทางสารสนเทศ คือ ทำระบบซื้อขายส่วนกลาง ตรวจตราดูแลด้านต่างๆ พร้อมทั้งควบคุมเครื่องจักรและอุปกรณ์ เป็นต้น
2.กลยุทธ์บทบาทของระบบสารสนเทศอะไร ที่จะนำมาช่วยกระบวนการปรับรื้อระบบ และการจัดการคุณภาพ
ตอบ กลยุทธ์ด้านความรวดเร็ว ความสามารถในการประมวลผลข้อมูล และการเชื่อมต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์
3.จงยกตัวอย่าง บริษัทที่ประสบความสำเร็จจากการใช้กระบวนการปรับรื้อทางธุรกิจ
ตอบ บริษัท Uarco,Inc. กระการปรับรื้อระบบธุรกิจของ Uarco ทำให้หน่วยบริการลูกค้าสามารถรับผิดชอบการเสนอราคาต่อลูกค้าและการส่งสินค้าได้เอง ดังนั้นพนักงานจึงมีเวลาในการขายได้อย่างเต็มที่ Uarco ประมาณการว่าผลกำไรสุทธิในแต่ละปีจะเพิ่มขึ้นถึง 25 เหรียญสหรัฐ อันเนื่องมาจากการปรับรื้อกระบวนการทางธุรกิจนี้
4.จงยกตัวอย่างความสำเร็จของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ บริษัท DEC ปัจจุเป็นบริษัทลูกที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตในปริมาณที่มาก รวมการรับส่งไปรษณ์อิเล็กทรอนิกส์วันละหลายพันข้อความและเสนอข้อความทางสื่อประสมกับข้อมูลของผลิตภัณฑ์บนแม่ข่ายเว็บ เป็นต้น สิ่งนี้เป็นผลให้บริษัทขายคอมพิวเตอร์ Alpha ได้มากกว่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ
5.จงยกตัวอย่างความล้มเหลวของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ตอบ บริษัท Chase Manhattan สูญเสียผลกำไรและส่วนแบ่งทางการตลาดหหลังจากความเพียรพยายามที่จะใช้ประโยชน์ IT ในเชิงกลยุทธิ์ทางเทคโนโลยี
6.จงอธิบายถึงประโยชน์ของบริษัทเสมือน
ตอบ องค์กรจะเป็นที่รู้จักปรับตัว และรู้จักฉวยโอกาส สามารถสร้างสินค้าที่ตอบสนองลูกค้าได้อย่างตรงไปตรงมาและเป็นที่ยอมรับเชื่อถือในเชิงธุรกิจด้วยกันทั้งสองฝ่าย
7.เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยเป็นกลยุทธ์ในการทำธุรกิจ ซึ่งสามารถประสานงานระหว่างลูกค้า ร้านค้า และอื่นๆ ได้อย่างไร
ตอบ  โดยการเปลี่ยนขั้นตอนที่ไร้แบบแผนไปสู่การดำเนินการที่เป็นกิจวัตรหรือแบบแผน ลด หรือนำมาใช้แทนแรงงานมนุษย์ได้ และนำพาข้อมูลจำนวนมหาศาลเข้าสู่กระบวนการ
น.ส. นวลลักษณ์ ศรียาชีพ บ.กจ.3/1

คำถามกรณีศึกษาบท8

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 8.1
1.อะไรคือความได้เปรียบทางการแข่งขันที่ GATX ได้รับจากการพัฒนา ERP ซอฟต์แวร์ให้เข้ากับความต้องการ
   ตอบ ช่วยให้กระบวนการต่างๆในการดำเนินธุรกิจทำได้โดยอัตโนมัติ
2.อะไรคือประโยชน์ทางการแข่งขันที่ GATX มองหาจากการขาย ERP ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาแล้วให้กับคู่แข่ง
   ตอบ ผลประโยชน์ในการแข่งขันที่แท้จริงจะอยู่ที่ความคิดของคนที่นำซอฟต์แวร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์กับการแข่งขัน
3.อะไรคือความเสี่ยงทางธุรกิจของกลยุทธ์นี้ของ GATX
  ตอบ ความเสี่ยงของการให้เช่าสินทรัพย์มูลค่าสูง และการขายเทคโนโลยีซอฟต์แวร์


คำถามกรณีศึกษาบทที่
8.2

1.อินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ต ช่วย Ford ในการเปลี่ยนแปลงกระบวนการการทำงานทางธุรกิจได้อย่างไร

  ตอบ อินทราเน็ตของ Ford เชื่อมต่อสถานีงานจำนวน 120,000 แห่ง ของสำนักงานและโรงงานทั่วโลกเข้ากับแหล่งข้อมูลนับพันๆเว็บไซด์ของ Ford
2.ผลประโยชน์ทางธุรกิจที่ได้จากการแลกเปลี่ยนแปลงกระบวนการทำงานของ Fond ก่อให้เกิดอะไรบ้าง
  ตอบ Ford ใช้เอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อเปิดอินทราเน็ตของตนให้แก่ผู้จัดหาสินค้ารายใหญ่ๆ อนุญาติให้ผู้จัดหาสินค้าได้ข้อมูลที่ชัดเจนลงไป
3.ผลกำไรที่ Fond หวังว่าจะได้รับจากการใช้อินเทอร์เน็ต เพื่อให้ลูกค้ามีส่วนร่วมในขั้นตอนการสั่งซื้อคืออะไร
  ตอบ คือการผลิตยานยนต์ส่วนใหญ่ได้ตามความต้องการภายในปี 1999 โดยจะจัดส่งให้ภายใน 2 สัปดาห์หลังจากการสั่งซื้อ สิ่งนี้จะประหยัดเงินได้หลายล้านเหรียญสหรัฐในสภาพคลังสินค้าและค่าใช้จ่ายปัจจุบัน
น.ส.นวลลักษณ์ ศรียาชีพ บ.กจ.3/1

สรุปบทที่8

                             ระบบสารสนเทศสำหรับความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์
  ความหมายของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ คือ ระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสนับสนุนการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันขององค์การ
  กรอบแนวคิดเรื่องระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
 
ในการที่จะนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงกลยุทธ์ จำเป็นต้องเข้าใจว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่เป็นเพียงแค่เรื่องคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศจะต้องมีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ ข้อมูลหรือสารสนเทศที่ป้อนเข้าสู่คอมพิวเตอร์ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยจะต้องพิจารณาประกอบกับสิ่งแวดล้อมของหน่วยงาน ความสามารถของหน่วยงานและกระบวนการทำงานที่นำมาใช้ด้วย
  ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ระดับต่าง ๆ

  โมเดลของพลังการแข่งขัน (Competitive Forces Model)
  1) การแข่งขันจากคู่แข่งขัน (Rivalry among Existing Competitors)
2) แรงกดดันจากคู่แข่งขันรายใหม่
3) แรงกดดันจากสินค้า/บริการทดแทน
4) อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ
5) อำนาจการต่อรองของซัพพลายเออร์
  Porter (1985) ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเป็น 3 ประเภท คือ

  1) กลยุทธ์โดยใช้ต้นทุนต่ำ (Cost Leadership Strategy)การผลิตสินค้า/บริการด้วยราคาที่ต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2) กลยุทธ์การสร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)กลยุทธ์ในการสร้างสินค้า/บริการซึ่งมีลักษณะโดดเด่นแตกต่างจากคู่แข่งขันหรือการพัฒนาสินค้า/บริการใหม่ ๆ ที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งคู่แข่งขันไม่สามารถลอกเลียนแบบได้
3) กลยุทธ์ในการเน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)กลยุทธ์ในการเลือกตลาดที่มีลักษณะเฉพาะเจาะจงกลุ่มเป้าหมายซึ่งยังเป็นช่องว่างทางตลาด (niche market) โดยอาจะผสมผสานกับกลยุทธ์การสร้างความแตกต่างเรียกว่า Focused Differentiation
  กลยุทธ์การใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์

  Cost Leadership - บริษัท Avex Electronics ได้ลดต้นทุนโดยการแลกเปลี่ยน
  ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นส่วนทางอิเล็คทรอนิกส์กับลูกค้าและซัพพลายเออร์โดยผ่านอินเทอร์เน็ตและเครือข่ายแบบส่วนบุคคล(private network)- Wal-Mart เสนอราคาสินค้าในราคาต่ำโดยอาศัยพันธมิตรทางธุรกิจและด้วยการมีระบบคอมพิวเตอร์ในด้านการซื้อและการจัดการวัสดุคงคลังDifferentiation ธนาคารเสมือนจริง (Virtual banking) เป็นเครือข่ายของธนาคารต่างๆ ซึ่งอนุญาตให้ลูกค้าเข้าไปดูบัญชีธนาคารของตนเองรวมทั้งตรวจสอบยอดบัญชี ชำระค่าบริการต่างๆ การบริการอื่นๆ 24 ชั่วโมง โดยผ่าน world wide webFocused โรงแรมไฮแอทติดตามกิจกรรมของผู้เข้าชม Travel Web Site ซึ่งDifferentiation จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับโรงแรมในเครือ และสามารถวิเคราะห์และจัดการ เรื่องการพักโรงแรมให้ตรงกับความต้องการของลูกค้ามากที่สุด
ทฤษฎีของแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategic Thrust)
  ทฤษฎีของแรงผลักดันด้านกลยุทธ์

  Wiseman (1985) ได้เสนอกรอบความคิดเพื่อใช้ในการพิจารณาหาโอกาสในการใช้สารสนเทศเพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขัน โดยอาศัยพื้นฐานแนวความคิดจาก Chandler และ Porter กรอบความคิดของ Wiseman เรียกว่า ทฤษฎีแรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Theory of Strategic Thrust) ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
  1. เป้าหมายของกลยุทธ์ (Target)
2. แรงผลักดันด้านกลยุทธ์ (Strategic Thrust)
3. แนวทางของแรงผลักดัน (Mode of the Thrust)
4. ทิศทางของแรงผลักดัน (Direction of the Thrust)
  ข้อแนะนำในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน

Senn (1992) ได้แนะนำผู้บริหารในการนำระบบสารสนเทศมาใช้ให้เกิดการได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนี้ 
1. พิจารณากระบวนการทำงานก่อนนำระบบสารสนเทศมาติดตั้ง
2. ควรให้เจ้าหน้าที่แผนกสารสนเทศมีโอกาสแลกเปลี่ยนกับเจ้าหน้าที่แผนอื่น รวมทั้งลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพนักงานขาย
3. เริ่มพัฒนาผลงานชิ้นต่อไปก่อนที่จะนำผลงานในปัจจุบันออกสู่ตลาด
4. การใช้ระบบสารสนเทศจะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการของหน่วยงาน
  โมเดลแรงผลักดันในการแข่งขันของพอร์เตอร์( Portes’s Competitive Force Model)

  ไมเคิลอี. พอร์เตอร์ได้พัฒนาโมเดลเพื่อวิเคราะห์สภาวะการแข่งขัน โดยองค์การจะประสบแรงผลักดันในการแข่งขัน ( Competitive Forces )ดังนี้

 1.อุปสรรคจากผู้แข่งขันรายใหม่ที่เข้าสู่ตลาด( Threat ofEntryof NewCompetitors)
2.อำนาจการต่อรองของผู้ขายปัจจัยการผลิต( Bargaining PowerofSuppliers )
3.อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ หรือ ลูกค้า(Bargaining Powerof Buyers/Customers )
4.การแข่งขันระหว่างกิจการต่างๆในอุตสาหกรรม( Rivaly AmongExistingCompetitors )
5.อุปสรรคที่เกิดจากสินค้า หรือ บริการทดแทน( Threat ofSubstitute Products/Services )

  พอร์เตอร์ได้เสนอกลยุทธ์ในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันดังนี้

 
1. กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (CostLeadership Strategy)องค์การจะต้องค้นหาให้ได้ว่าสินค้าหรือบริการที่ดีในความรู้สึกของลูกค้ามีลักษณะพื้นฐานอย่างไร และจะต้องบริหารกระบวนการผลิตสินค้าหรือบริการนั้นให้มีต้นทุนต่ำที่สุดในอุตสาหกรรม
2. กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (DifferentiationStrategy ) การสร้างบริการขององค์การให้มีลักษณะที่โดดเด่น แตกต่างจากคู่แข่งขัน ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ ทำให้ลูกค้ายึดติดในสินค้า และบริการนั้น
             3. กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย(FocusStrategy) การเลือกตลาดเป้าหมายสำหรับสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะแคบลง หรือ มีตลาดเฉพาะด้าน ซึ่งจะมีคู่แข่งน้อยลง แต่มีช่องว่างทางการตลาด กลยุทธ์นี้จะใช้ความพิเศษเหนือกว่าคู่แข่งขันทั้งในด้านสินค้า และ บริการเช่นกระเป๋ายี่ห้อดัง ( Brand Name )รถยนต์ที่เน้นความปลอดภัยขอผู้ขับขี่และผู้โดยสารนาฬิกาสวิส์สุดยอดแห่งความเที่ยงตรง คงทนและงดงาม

น.ส.นวลลักษณ์ ศรียาชีพ บ.กจ.3/1


แบบฝึกหัด7

                  แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7
1.อะไรคือความแตกต่างระหว่างความสามารถของผู้บริหารในการเรียกข้อมูลออกมาใช้ตามความต้องการของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และความสามารถจัดการเรื่องบริหารการตัดสินใจโดยใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
 ตอบ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
             การเตรียมงานสนับสนุนการตัดสินใจ : มีการเตรียมข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานภายในองค์การ
             รูปแบบสารสนเทศและความถี่ : ช่วงเวลา การยกเว้น ความต้องการและการดึงรายงานออกมา และการตอบสนอง
             รูปแบบของสารสนเทศ : การกำหนดล่วงหน้า การจำกัดรูปแบบ
             ระเบียบวิธีในกระบวนการสารสนเทศ : การสร้างข้อมูลโดยการโอนหรือการย้ายของข้อมูลธุรกิจ
             ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
             การเตรียมงานสนับสนุนการตัดสินใจ : มีการเตรียมข้อมูลและเทคนิคการตัดสินใจในการวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะหรือโอกาส
             รูปแบบสารสนเทศและความถี่ : การตรวจสอบการติดต่อระหว่างกันและการตอบสนอง          
             รูปแบบของสารสนเทศ : เฉพาะตามต้องการ มีความยืดหยุ่นและรูปแบบที่สามารถปรับใช้ได้             
             ระเบียบวิธีในกระบวนการสารสนเทศ : การสร้างข้อมูลจากรูปแบบจำลองในการวิเคราะห์ของข้อมูลธุกิจ
2.ระบบงานการขาย มีความก้าวหน้ากว่าแต่ก่อนมาก เมื่อต้องการข้อมูลสำหรับการทำงานในองค์กรเนื่องจากความต้องการเรื่องกลยุทธ์ เทคนิค และการบริหารการตัดสินใจในธุรกิจเปลี่ยนไป ให้นักศึกษาอธิบายการเปลี่ยนแปลงนี้   ตอบ  การจัดการด้านกลยุทธ์ คณะกรรมการอำนวยการ สมาชิกผู้บริหาร และผู้หารระดับสูง กำหนดเป้าหมายกลยุทธ์ นโยบายและการวางแผนในองค์กร โดยพิจารณาจากกลยุทธ์ขององค์กรและภาพรวมของทิศทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และการแข่งขันทางธุรกิจ
             การจัดการด้านยุทธวิธี ผู้จัดการหน่วยงาน วางแผนระยะสั้นและระยะกลาง กำหนดตารางเวลา งบประมาณและนโยบายขั้นตอนการทำงานและเป้าหมายทางธุรกิจสำหรับหน่วยย่อยภายในองค์กร การจัดสรรแหล่งข้อมูลและตรวจดูการทำงานของหน่วยย่อยภายในองค์กร ขั้นตอนการทำงานของทีมงาน ทีมงานโครงการและกลุ่มทำงาน
              การจัดการด้านการปฏิบัติการ สมาชิกภายในกลุ่มหรือการปฏิบัติการของผู้จัดการ ในการจัดการวางแผนระยะสั้น เช่น ตารางการผลิตในแต่ละสัปดาห์ การใช้แหล่งข้อมูลและการปฏิบัติงานตามขั้นตอนภายใต้งบประมาณและตารางเวลาที่ได้ตั้งเอาไว้
3.มีแนวทางไหนบ้าง ที่นักศึกษาใช้โปรแกรมตารางคำนวณอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาช่วยในการตัดสินใจ
   ตอบ การจำลองรูปแบบการจำลองที่มีการสนับสนุนประเภทในการตัดสินใจ เช่นโปรแกรมคำนวณรูปแบบตารางที่มีการพิจารณาในความสัมพันธ์กระบวนตัวแปร เช่น รายได้-ค่าใช้จ่าย=กำไร เป็นต้น
4.ทำไมการใช้ระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง จึงขยายไปยังระดับกลาง และขยายไปทั่วหมดทุกแผนกในองค์กร  ตอบ เพราะความต้องการข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่ต้องตัดสินใจ ประเภทของข้อมูลที่ต้องการจากผู้บริหารผู้จัดการและสมาชิกในทีมงาน ซึ่งเน้นความสัมพันธ์ของระดับในการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องและโครงสร้างสำเหตุการณ์ของการตัดสินใจที่ต้องเผชิญหน้า
5.ทำไมเครื่องคอมพิวเตอร์จึงสามารถคิดได้ อธิบายเหตุผล
   ตอบ เพราะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ คือ การพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้สามารถคิด มองเห็น ได้ยิน เดิน พูด และมีความรู้สึก
6.การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในองค์กร ส่วนไหนสำคัญที่สุด บอกเหตุผลที่นักศึกษาเลือก
   ตอบ  พฤติกรรมของปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งปัญญาประดิษฐ์มีความพยามที่จะจำลองความสามารถของระบบที่ภายในคอมพิวเตอร์
7.การผสมผสานระหว่างระบบผู้เชี่ยวชาญและเครือข่ายเส้นประสาท จะก้าวต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง นักศึกษาคาดหวังว่าจะเกิดเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยอย่างไรบ้าง
   ตอบ มีการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้เพื่ออำนวยความสะดวกที่ดีกับความต้องการของมนุษย์มากขึ้น
8.อะไรคือขอบเขตจำกัด หรืออันตรายที่นักศึกษามองเห็น ในการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญ ความจริงเสมือน และตัวแทนสติปัญญา และอะไรที่จะลดขนาดของผลกระทบเหล่านี้ลงได้   ตอบ คือ ต้นทุนของเทคโนโลยี ขาดความสามารถในการเรียนรู้ และต้นทุนในการพัฒนา การแก้ไขปัญหาเฉพาะที่อยู่ในเขตความรู้ที่จำกัดขอบเขต เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญอาจจะช่วยให้คำปรึกษาทางด้านการเงินที่มีการแนะนำการพัฒนาทางเลือกสำหรับนักลงทุนใหม่แก่ลูกค้า
น.ส. นวลลักษณ์ ศรียาชีพ บ.กจ.3/1

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7

                                                คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7

คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7-1
1.ทำไมการทำงานร่วมกันในระบบอินทราเน็ตจึงกลายมาเป็น "ระบบสารสนเทศของทุกๆคน"
   ตอบ เพราะเป็นแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สำคัญสำหรับบริษัทหลายๆแห่ง
2.อะไรเป็นแนวคิดระบบสารสนเทศที่คุณได้จากระบบอินทราเน็ตของบริษัทและเครื่องมือค้นหาของ Fulcrum
   ตอบ Parsons Brinckhoff เป็นเครื่องมือในระบบค้นหาอินทราเน็ตได้ช่วยเพิ่มการคืนทุนและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน โดยการลดเวลาที่ไม่จำเป็นสำหรับการเข้าถึงและจัดการข้อมูลสารสนเทศในระบบอินทราเน็ตภายในบริษัท
3.อะไรเป็นผลประโยชน์ในทางธุรกิจสำหรับระบบอินทราเน็ตและเครื่องมือค้นหาภายในบริษัท
   ตอบ ช่วยให้พนักงานในบริษัทใช้ระบบอินทราเน็ตเป็นเครื่องมือในการแข่งขันสำหรับโครงการทางวิศวกรรมใหม่ๆ
คำถามกรณีศึกษาบทที่ 7-2
1.อะไรเป็นมูลค่าทางธุรกิจของการประมวลผลการวิเคราะห์ออนไลน์ของบริษัท Office Depot
   ตอบ การได้ลิขสิทธิ์สำหรับใช้ในการโฆษณาส่งเสริมการขาย
2.บริษัท Office Depot ได้ผลจากการลงทุนสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศที่นำ OLAP ไปใช้งานอย่างไร
   ตอบ ทำให้การขายสูงขึ้นถึง 4 เปอร์เซนต์ในช่วงครึ่งปีหลัง
3.บริษัท Office Depot ควรที่จะมีการเตรียมให้ผู้จัดส่งสินค้าผ่านเอ็กซ์ทราเน็ตเพื่อเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดหรือไม่ เพราะอะไร
   ตอบ ควรเตรียมผู้จัดหาสินค้าที่มีการทำงานร่วมกับการเข้าถึงข้อมูลทางการตลาดในระบบอินทราเน็ตที่ใช้ Wired ของการเชื่อมโยงใน OLAP บริษัทพร้อมที่จะแบ่งส่วนในการทำงานของการขายร่วมกับผู้จัดหาสินค้าหลักอีกสองแหล่งทั้งหมดที่เป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในการเปลี่ยนแปลงชุดการติดต่อธุรกิจภายใน
น.ส.นวลลักษณ์ ศรียาชีพ บ.กจ.3/1